ผังสี คืออะไร

       ในทุกๆประเทศจะมีกฏหมายผังเมืองเอาไว้ เพื่อแบ่งเป็นเขตท้องที่ต่างๆ ให้สามารถกำหนดพื้นที่และดูแลได้ง่ายขึ้น แต่ละเขตการปกครองก็จะมีกฏหมายที่แยกย่อยเข้าไปอีก เพื่อให้ง่ายต่อการจำแนกประเภท ดูแลควบคุม และยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชน ในประเทศไทยของพวกเราก็เช่นกันนะครับ ประเทศเราแบ่งพื้นที่ออกเป็น ผังสี เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานท้องที่นั้นๆ โดยแต่ละสีก็จะบ่งบอกถึงศักยภาพของพื้นที่เป็นนัยๆอีกด้วย และการแบ่งตามลักษณะนี้ ยังช่วยให้ ประเภทสิ่งปลูกสร้างไม่ปะปนกันอีกด้วย เช่น ในสถานที่ชุมชน ก็ไม่อาจจะสร้างโรงงานได้ หรือในเขตท่องที่อุสาหกรรมก็จะไม่สามารถสร้างหมู่บ้านจัดสรรได้ เป็นต้น

ผังสีก่อสร้างโรงงาน

ประเภทของผังสี

            ประเทศไทยของเรานั้นแบ่งประเภทผังสีออกเป็น 9 ผังสี เนื่องด้วย กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีการเติบโตและการแข่งขันทางธุรกิจสูงที่สุด จึงเป็นที่หมายปองของเหล่านายทุน ที่จะทำธุรกิจต่างๆ โดยทางกฎกระทรวงจึงกำหนดพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครเอาไว้อย่างชัดเจน โดยส่วนมากแล้วจะแบ่งตามจำนวนความหนาแน่นของประชากร แบ่งได้เป็น 9 สีดังนี้

  1. เขตพื้นที่ สีเหลือง
  2. เขตพื้นที่ สีส้ม
  3. เขตพื้นที่ สีน้ำตาล
  4. เขตพื้นที่ สีแดง
  5. เขตพื้นที่ สีม่วง
  6. เขตพื้นที่ สีชมพู
  7. เขตพื้นที่ สีเขียว
  8. เขตพื้นที่ สีเข้ม
  9. เขตพื้นที่ สีน้ำเงิน

1. เขตพื้นที่สีเหลือง

           พื้นที่สีเหลือง ย.๑- ย.๕ หรือ เขตพื้นที่อยู่อาศัยความหนาแน่นน้อย เขตพื้นที่นี้เป็นเขตที่สนับสนุนให้พัฒนา อาคารสงเคราะห์/รับเลี้ยงสัตว์, สถานศึกษาต่ำกว่าระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา, สถานพยาบาล, สถานสงเคราะห์/รับเลี้ยงเด็ก, สถานสงเคราะห์/รับเลี้ยงคนชรา, สถานสงเคราะห์/รับเลี้ยงผู้พิการ และยังสามารถสร้าง ที่อยู่อาศัย , อาคารพาณิชยกรรม , สำนักงาน, โรงแรม และ ตลาดได้อีกด้วย

2. เขตพื้นที่สีส้ม

          เขตพื้นที่สีส้มนี้ จะขยับตามความหนาแน่นของชุมชนขึ้นมาเป็นระดับปานกลาง ที่ดินตามโฉนดจะเป็น ย.๖ – ย.๑๐ โดยสามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างได้ เหมือนกับสีเหลืองทุกประการ จะแตกต่างเพียงเล็กน้อย คือไม่สามารถสร้างสถานสงเคราะห์เลี้ยงสัตว์ได้ (เสียงจากสัตว์จะรบกวนชุมชน) แต่จะต่างกันที่ระดับความหนาแน่นของประชากรในเบื้องต้น หากใครจะซื้อที่ดินประเภทนี้ ต้องทราบเรื่องความหนาแน่น หรือลองขับรถไปดูที่จริงก็จะดีที่สุดนะครับ

3. เขตพื้นที่สีน้ำตาล

           เขตพื้นที่สีน้ำตาล เป็นเขตพื้นที่อยู่อาศัยความหนาแน่นมาก ที่ตามโฉนดคือ ย.๑-ย.๑๐ เป็นพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย อนุญาตให้นำพื้นที่ใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ ไม่เกิน 10% ของพื้นที่ เช่นการตั้งโรงงาน หรือ สถานประกอบการ เป็นต้น

พื้นที่โซนนี้จะเหมาะสำหรับการก่อสร้าง บ้านพักอาศัย ทาวน์เฮ้าส์ อาคารชุด ต่างๆ

4. เขตพื้นที่สีแดง

         เขตพื้นที่สีนี้ เป็นเขตประเภทพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก สามารถใช้ทำประโยชน์เพื่อ การพาณิชกรรม เพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ  และ สำหรับการใช้ประโยชน์ประเภทอื่นนั้น ใช้ได้ไม่เกิน 25% ของพื้นที่ทั้งหมด

          โดยพื้นที่ประเภทนี้ ห้ามใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามนี้ เช่น โรงงาน (มีข้อยกเว้นตามกฎหมาย) สถานบรรจุเชื้อเพลิง สุสาน การเลี้ยงและทำปศุสัตว์ คลังสินค้า สถานีขนส่ง สถานกำจัดขยะ เป็นต้น

5. เขตพื้นที่สีม่วง

          เขตพื้นที่สีม่วงนี้ เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า ให้ประโยชน์ส่วนใหญ่ เพื่อการอุตสาหกรรมและเก็บสินค้า คลังสินค้า ใครที่จะสร้างโกดัง โรงงาน นี่คือโซนที่ เราสามารถก่อสร้างได้ทุกกรณีโดยไม่มีข้อแม้ นะครับ เหมาะสำหรับ ภาคธุรกิจที่สุด กรณีใช้ประโยชน์อื่นในพื้นที่ ต้องไม่เกิน 20% ของประเภทที่ดินนี้

           และที่ดินนี้มีการสนับสนุนประเภทย่อย ตามข้อแม้บางประการของกฎหมาย คือ การทำสุสาน โรงแรม โรงมหรสพ ที่ดินจัดสรรเพื่ออยู่อาศัย ห้องพัก หรืออาคารชุด เว้นแต่จะเป็นส่วนหนึ่งของโรงงาน สถานรับเลี้ยงเด็ก คนชรา และ สถาบันการศึกษา

            และสำหรับท่านใดที่กำลังอยากสร้างโกดัง โรงงาน สามารถดูผลงานของเราได้ ที่ ผลงาน หรือขั้นตอนการร่วมงาน นะครับ

6. เขตพื้นที่สีม่วงอ่อน

         เขตพื้นที่สีม่วงอ่อนนี้ หรือเขตพื้นที่ อ.๓ จะสนับสนุนให้สร้างคลังสินค้าโดยเฉพาะ การจัดสรรพื้นที่ในเขตสีนี้จะง่ายต่อภาคขนส่งอีกด้วย ใครทำธุรกิจประเภทขนส่ง พื้นที่สีม่วงอ่อนเหมาะกับท่านที่สุดนะครับ

7. เขตพื้นที่สีเขียว-ลาย (ขาว-เขียว)

          เขตพื้นที่สีเขียวลายนี้ หรือเขตพื้นที่ ก.๑-ก.๒ เป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและการเกษตรกรรม การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่นี้นั้นจะใช้เพื่อการเกษตรกรรมหรือที่เกี่ยวข้อง เป็นพื้นที่ที่มีมากที่สุดในประเภทไทยด้วยนะครับ

8. เขตพื้นที่สีเขียว

          เขตพื้นที่สีเขียวนี้ เป็นเขตสีพื้นที่เพื่อการชนบทและเกษตรกรรม ให้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรมได้ สามารถสร้างแบ่งแยกที่ดินได้ 100 วา ตามกฎหมายการจัดสรรที่ดินประเภทนี้เพื่อสนับสนุนที่อยู่อาศัย และการธารณูปโภคเป็นหลัก อีกด้วย

แต่จะไม่สนับสนุนการทำโรงงานเชื้อเพลิง หรือโรงงานน้ำมัน นะครับ

9. เขตพื้นที่สีน้ำเงิน

           เขตพื้นที่สีน้ำเงินนี้ ใช้เพื่อสำหรับ สถาบันราชการ การสาธารณูปการ โดยให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการของรัฐ กิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะประโยชน์ เท่านั้น

         โดยทั้งหมดนี้ก็คือ สีของที่ดินแต่ละประเภท ที่แบ่งว่าสามารถปลูกสร้าง หรือใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง จะมีข้อกำหนดและความชัดเจนของข้อกฏหมายในแต่ละพื้นที่ท้องถิ่นเข้าไปอีกด้วยนะครับ โดยผู้จะซื้อที่ดินควรศึกษาเพิ่มเติมนะครับ และเว็ปไซต์ที่เหมาะสมและชัดเจนที่สุด ก็คือ เว็ปไซต์ของทางราชการ กรมโยธาธิการและผังเมือง หรือ ตามลิ้งค์นี้ครับ https://dpt.go.th/th/  โดยสามารถเข้าไปหาข้อมูลโดยตรงได้จากช่องทางนี้อีกทางนะครับ

              แต่สำหรับข้อมูลเบื้องต้น ทางเราได้จัดทำให้ตามข้อมูลด้านบนแล้ว เพื่อนๆ สามารถดูได้เลยนะครับ ^^

               สำหรับใครที่กำลังจะขึ้นโครงการก่อสร้างของตัวเอง สามารถศึกษาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ บริษัทของเรา EASY WAREHOUSE โดยเราให้บริการออกแบบและก่อสร้าง งานโกดัง โรงงาน และ คลังสินค้าโดยเฉพาะนะครับ สำหรับพื้นที่สีต่างๆ ก็สามารถปรึกษาทางเราได้นะครับ เพราะสำหรับบางเขต หรือบางพื้นที่สี ที่ไม่สามารถสร้างโรงงานได้ แต่ในกฏหมายเชิงลึกแล้ว จะมีข้อยกเว้นอยู่ตามเขตนั้นๆอีกด้วยนะครับ

 

[breadcrumb]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *