โรงงาน GMP

โรงงานแปรรูปอาหาร GMP HACCP

ผลงาน งานออกแบบและก่อสร้าง โรงงานพร้อมสำนักงาน ผลิตมาตราฐาน GMP ที่มีทั้งความสวยงาม และ ฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบถ้วน  จะมีหลักการออกแบบ และก่อสร้างให้ถูกต้องตามหลักอย่างไร สามารถอ่านต่อได้จากโพสนี้  

โดยเราจะมาเริ่มกันที่หลักการออกแบบและความหมายของ GMP HACCP ก่อน

ก่อสร้างโรงงาน GMP easy warehouse

มาตราฐาน HACCP ,GMP คือ ? 

เมื่อมีการตั้งโรงงานหรือรับผลิตอะไรซักอย่าง ไม่ว่าปลายทางคืออะไรวันนึงเจ้าของกิจจการก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอ GMP และ HACCP เพราะทั้งหมดนี้คือการควบคุมขั้นตอนและกระบวนการผลิต โดยมีความหมายต่างกันดังนี้

GMP-and-HACCP

1.GMP คือ? 

GMP ย่อมาจาก Good Manufacturing Practice คือ แนวทางปฏิบัติที่ดีในการผลิตในปัจจุบันคือแนวทางที่สอดคล้องกับแนวทางที่แนะนำโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานเหล่านั้นควบคุมการอนุญาตและการออกใบอนุญาตในการผลิตและการขายอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ยา อาหารเสริม และอุปกรณ์ทางการแพทย์

2.HACCP คือ ? 

โดย HACCP ย่อมาจาก Hazard Analysis and Critical Control Point System หรือระบบการวิเคราะห์หาอันตราย ความเสี่ยง และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิต ตรงตัว เป็นระบบที่ควบคุมการผลิตให้ปราศจากเชื่อจุลินทรย์ สารเคมี สิ่งเจือปน และอื่นๆ โดยถือเป็นข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการโครงการมาตราฐานอาหาร FAO และ WHO  โดยหลักการของ HACCP นั้นจะทำการควบคลุมและป้องกันปัญหาจากอันตราบจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่

  1.  อันตรายจากชีวภาพ หรือที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ เชื้อโรค
  2. อันตรายจากสารเคมี เช่น สารเคมีจากการเพราะปลูก น้ำยากำจัดศัตรูพืช สารกันบูด สารเจือปน
  3. อันตรายจากกายภาพ เช่น สิ่งแปลกปลอมประเภทวัสถุ เศษแก้ว เศษโลหะ สารตะกั่ว

ทั้ง 2 จึงต่างกันที่ GMP นั้นควบคุมทั้งกระบวนกระผลิตและบุคลากร แต่ HACCP นั้น ควบคุมแค่กระบวนการผลิต  เมื่อเราเข้าใจแล้ว เราก็สามารถนำไปใช้กับส่วนงานออกแบบได้อย่างถูกต้อง

โรงงาน GMP HACCP

งานออกแบบแปลน

การเร่มต้นการออกแบบแปลนเป็นสิ่งที่เหมือนจะง่ายเพราะเจ้าของโรงงานเองมักจะเข้าใจในกระบวนการผลิตของตัวเองตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว แต่เมื่อเริ่มเขียนจริงๆ จะติดขัด คิดต่อไม่ออก  การวางแปลนควรเริ่มจากรวบรวมข้อมูลทุกกระบวนการผลิต วางผัง flow chart ง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพรวม และเอามาเขียนรวมกันโดยเริ่มตั้งแต่ห้องที่ RM เข้า จนถึงผลิตเสร็จเป็น FG วางที่คลังสต็อกสินค้า   และอย่าลืมเงื่อนไขพิเศษและห้องต่างๆ ในตำแหน่งที่เหมาะสม เช่น ตำแหน่งห้องซักล้าง ตำแหน่งห้องงานระบบ ห้อง air lock หรือการสันจรภายใน 

การออกแบบแบ่งเป็นงานภายนอกและภายใน

งานออกแบบภายนอก

งานออกแบบภายนอกนั่น ตามหลักการหรือข้อกฏหมายจะไม่ได้มีอะไรมากำจัดมาก ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่อง ระยะร่นตามกฏหมาย การออกแบบทางสันจร การวางตำแหน่งห้องเครื่อง,หม้อแปลงไฟฟ้า หรือ gas station

งานออกแบบภายใน (ผลิต)

หลักการออกแบบภายในจะแตกต่างจากภายนอก โดยเปลี่ยนจากยึดตามระยะกฎหมาย มาเป็นยึดตามหลักของ GMP โดยต้องคำนึงถึง 2 ส่วนประกอบหลักสำหรับการออกแบบดังนี้

  1. ข้อบังคับและข้อกำหนดของมาตราฐาน GMP โดยปัจจุบันอ้างอิงตามกฏกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 420 พ.ศ. 2563 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษา ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยให้เน้นในส่วนที่ 1 หัวข้อย่อยที่ 1 ว่าด้วยเรื่อง สถานที่ตั้ง อาคารผลิต การทำความสะอาด และการซ่อมบำรุงเป็นหลัก
  2. การจัดพื้นที่ภายใน โดยคำนึงถึงขนาด scale เครื่องจักร และทางเดิน รวมถึงสายการทำงานของแต่ละไลผลิต  ในส่วนนี้จะยากที่สุด เพราะไม่เพียงแต่จะต้องเอากฏหมายเข้ามาใช้ แต่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการออกแบบจากบริษัทที่ชำนาญการหรือมีประสบการณ์มาด้วย มิฉะนั้น พื้นที่ภายในและ flow จะไม่สัมพันกับการทำงาน

งานออกแบบภายใน (คลังสินค้า)

ส่วนสต๊อกจัดเก็บ RM และ FG นั้น ส่วนนี้ไม่ได้อยู่ในสายการผลิต จึงไม่ต้องมีการปกป้องมากนัก แต่จะเน้นเรื่องความเป็นระเบียบ ความสะอาด แสงสว่างเพียงพอ

บริการของเรา EASY WAREHOUSE

     ลูกค้าที่สนใจสามารถติดตามชมผลงาน ของเราได้อีกมากมาย หรือหากท่านใดสนใจก็สามาถติดต่อสอบถามได้ทุกช่องทางการติดต่อของเรา ทาางเราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมงานกับท่านลูกค้าที่สนใจ หรือสามารถดูบริการ BUILT TO SUITE และ REDY TO BUILT ของเราได้ที่นี่

 

[breadcrumb]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *