ใน week นี้เรายังอยู่กับ mini-factory หรือ โรงงานขนาดเล็กกันอยู่นะครับ โดย week ที่แล้วเราได้นำเสนอ โรงงาน style modern ที่เน้นความเรียบหรู ทันสมัยด้วยเส้น-สาย กันไปแล้ว ใน week นี้เราจะขอย้อนกลับมาสู่จุดเริ่มต้นของ การก่อสร้างและ ออกแบบงานประเภทโกดัง-โรงงาน นั่นก็คือ style การก่อสร้างและออกแบบ แบบ ลอฟท์ (loft) นั่นเอง

LOFT FACTORY

คำว่า loft นั้นมีหลากหลายที่มานะครับ แต่ความเป็นจริงแล้ว loft เกิดจากความบังเอิญที่จำเป็น นั่นก็คือ สมัยที่ยุคอุตสหกรรมกำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ความก้าวไกลกำลังจะเกิดขึ้น มีธุรกิจหลากหลายกำลังเกิดขึ้น และทุกๆอย่าง ใช้โรงงานในการผลิต ตั้งแต่โรงงานประกอบรถจักร จนถึง โรงงานประกอบตุ๊กตากันเลยทีเดียว

แต่ด้วยช่วงเวลาที่เกิดสงครามโลกขึ้นระหว่างทางพอดี ธุรกิจหลายๆประเภทจึงได้รับผลกระทบ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในยุคนั้น ก็ต้องขายบ้านและรถ หรือยอมให้แหล่งเงินกู้ยึดไป เพราะสามารถหา เงินมาจ่ายตามนัดหมายได้ และได้ใช้ โรงงานของตัวเอง มาเป็นที่อยู่อาศัยแทน ด้วยวัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้ในการทำโรงงานอยู่และเช่น อิฐ ผนังเหล็ก งานเดินท่อไฟเปลือยๆ และโครงสร้างเหล็ก ตรงนี้แหละครับจึงเป็นที่มาของ loft 

รูปแบบดังกล่าวจึงถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และเอามาผสมกันกับแนวอื่นๆ และกลายมาเป็นที่นิยมและรู้จักกันอย่างแพร่หลาย หนึ่งในนั้นคือแนว modern-loft นั่นคือการนำความ ดิบของ loft มาผสมกับ ความทันสมัยของ modern ทำให้เป็นที่นิยมในการตกแต่งภายใน เพราะจะได้อารมณ์การทำงานที่ classic แต่ในขณะเดียวกันก็ดูไม่น่าเบื่อ

EXTERIOR (งานภายนอก)

เริ่มจาก form หรือรูปทรง เราเลือกรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์และเหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทยในเขตร้อน ชื้น ที่ดีที่สุด คือหลังคาทรงจั่วยกสูง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับ และ ช่วยลดความร้อนสะสมในส่วนของ อาคารภายใน ทำให้เกิดอากาศหมุนเวียน และ ยังได้ความรู้สึกเป็นงาน old school อีกด้วย

วัสดุที่เลือกใช้ จากความหมายของงาน ลอฟท์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว วัสดุก็เป็นอีกส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเลือกใช้งาน เพื่อให้ทุกองค์ประกอบ เป็น modern-loft อย่างสมบูรณ์ เราจึงเลือกใช้วัสดุที่เป็น จุดตั้งต้นของ ลอฟท์ นั่นคือ ผนังเหล็ก metal sheet อิฐแดงก่อโชว์ลาย และ งานไฟแบบ old school  เพื่อเพิ่มเสน่ห์ให้กับ ภาพรวมขององอาคาร

นอกจากนี้ ยังมีเกร็ดระบายอากาศที่ช่วยระบายความร้อนจากภายในอาคาร  ช่อง sky-light บนหลังคาเพื่อเพิ่มบริมาณแสงในตอนกลางวัน ช่วยประหยัดพลังงานให้กับตัวอาคาร และ บานกระจกขนาดใหญ่ ด้านหน้า ที่นอกจากทำหน้าที่เดียวกันกับช่อง sky-light แล้ว ยังเป็นอีกจุดเด่น signature ของอาคารหลังนี้อีกด้วย

INTERIOR (ภายใน)

การทำงานถูกแบบออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน เมื่อมองจากภายนอก จะมีฝั่งของสำนักงานและ โกดังเก็บสินค้า 

โดยในส่วนของโกดังเก็บสินค้า โจทย์ใหญ่ๆ คือต้องมีพื้นที่ในการเก็บสินค้าที่เยอะ และ ต้องไม่ร้อน ด้วยโจทย์ 2 ข้อนี้ เราจึงเลือกการออกแบบแนวสูง เพื่อเพิ่ม space แนวตั้ง ให้มากขึ้น และ ได้ประโยชน?อีกข้อคือ พื้นที่สะสมความร้อนจะอยู่สูง ทำให้ บริเวณที่คนใช้งาน ไม่ร้อนตลอดวัน นอกจากนี้ ใต้หลังคา ยังมีฉนวนกันความร้อนประเภท PE (ตามงบประมาณที่เหมาะสมกับเจ้าของ) ช่วยลดความร้อนที่จะเกิดขึ้นภายใต้หลังคาอีกด้วย

ในส่วนของสำนักงาน ทางเจ้าของต้องการความเป็น modern เพื่อตอบโจทย์ life-style ของตัวเอง จึง เลือกใช้วัสดุ และการออกแบบที่ดูทันสมัย เช่น ฝ้าหลุมซ่อนไฟ การติดกระเบื้องผนัง หรือเลือกใช้สีในโทนสีขาวสะอาด

[breadcrumb]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *